September 14, 2023 | SmartFreightThailand
FCL คือ การขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์
Full Container Load หรือ FCL คือ การขนส่งทางเรือหรือทางทะเล ในกรณีที่สินค้ามีปริมาณมากการขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ จะสร้างความได้เปรียบด้านราคาให้แก่ผู้นำเข้า-ส่งออก เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยที่ต่ำกว่าการขนส่งแบบอื่น ดูบริการ FCL→
โดยสินค้าทั้งตู้จะเป็นของผู้นำเข้า-ส่งออกเพียงรายเดียวเท่านั้น แตกต่างจากการขนส่งแบบ LCL ที่สินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นของลูกค้าหลาย ๆ รายมารวมกัน LCL คือ→
คำศัพท์เฉพาะที่น่ารู้เกี่ยวกับ FCL คือ
สาระน่ารู้เกี่ยวกับการขนส่งแบบ FCL ระดับเริ่มต้น โดยนำเสนอในรูปแบบคำศัพท์-ภาพประกอบ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ เพื่อใช้สำหรับการประสานงานกับ บริษัท Freight Forwarder ทั้งเพื่อการนำเข้า-ส่งออก
• FCL-Terms Index •
ตู้ขนาด 20 ฟุต
ตู้ขนาด 40 ฟุต
ตู้ขนาด 45 ฟุต
ส่วนคำว่า “ตู้ High Cube” เขียนย่อ HQ, HC ใช้เรียกตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความสูงมากกว่าตู้ปกติประมาณ 1 ฟุต ซึ่งมีทั้งชนิด 40’HQ และ 45’HQ ที่ยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน
• Container Type •
Container Type คือ ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ หรือ แบบตู้คอนเทนเนอร์ ที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการขนส่ง – การบรรจุสินค้าที่มีความหลากหลาย ประเภทตู้ที่ควรรู้ สำหรับการส่งแบบ FCL คือ
• Seal •
Seal หรือ Container Seal คือ ซีลล็อคตู้คอนเทนเนอร์ ทำหน้าที่เสมือนแม่กุญแจ แต่มีความพิเศษตรงที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว และซีลแต่ละตัวจะมีรหัสเฉพาะที่ใช้คู่กับตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้ ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยที่ชุดข้อมูลดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลศุลกากรทั้งฝั่งต้นทางและปลายทางอีกด้วย
• Seaport •
Seaport คือ เมืองท่า หรือ ท่าเรือสำหรับเรือเดินสมุทร ซึ่งมีอยู่หลายร้อย Seaports ในมากกว่า 120 ประเทศทั่วโลก (บางประเทศก็ไม่มีหรือไม่ติดทะเล) ส่วนบางประเทศนอกจากจะมีหลาย Seaport แล้ว ในแต่ละ Seaport ยังมีด้วยกันหลาย Terminal อีกด้วย เช่น Hochiminh Port ในเวียดนาม ประกอบไปด้วย Terminal Hochiminh: City, VICT, Catlai? (Sea Freight – Port Guide→)
• Sailing Schedule •
Sailing Schedule คือ กำหนดการเดินเรือ-ตารางเดินเรือ ซึ่งจะแสดงทั้งเมืองท่าต้นทาง-ปลายทาง, วันเรือออก-เรือถึง, ระยะเวลาในการเดินทาง, รวมถึงเส้นทางการเดินเรือคร่าว ๆ ด้วย
• Vessel / Feeder •
Mother Vessel หรือ Vessel คือ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ นิยมเรียกว่า “เรือแม่” ซึ่งมีระวางบรรทุกตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักหมื่นตู้คอนเทนเนอร์เลยทีเดียว
Feeder Vessel หรือ Feeder คือ เรือลำเลียงตู้ นิยมเรียกว่า “เรือลูก” ซึ่งมีระวางบรรทุกตู้ฯ ตั้งแต่ หลักร้อยจนหลักพัน TEU (TEU: Twenty Equity Units หรือ ตู้สั้น)
• Booking Confirmation •
นิยมเรียกว่า “ใบบุ๊ค” เป็นเอกสารยืนยันการจองระวาง สำหรับการขนส่งแบบ FCL ซึ่งในใบบุ๊คจะแสดงรายละเอียดที่สำคัญคือ
- Shipper Name คือ ชื่อผู้ส่งสินค้า
- Amount of Container size & type เช่น 1 x 20’DC, 2 x 40’HQ เป็นต้น
- Port of Loading หรือ POL คือ ท่าเรือต้นทาง
- Port of Discharge หรือ POD คือ ท่าเรือปลายทาง
- CFS Yard คือ สถานที่-ลาน ที่ต้องนำสินค้าไปบรรจุเข้าตู้ (Term-CFS)
- CY Place คือ สถานที่รับตู้ (Term-CY)
- Return Place คือ สถานที่คืนตู้
- Cut-Off Time คือ วัน-เวลา ในการรับคืน-ปิดรับตู้ฯ
- Estimate Time Departure?หรือ ETD คือ วัน-เวลา ที่เรือจะออกจากท่าเรือต้นทาง
- Estimate Time Arrival หรือ ETA คือ วัน-เวลา ที่เรือจะถึงท่าเรือปลายทาง
- Freight Prepaid คือ ค่าเฟรทชำระที่ต้นทาง
- Freight Collect คือ ค่าเฟรทชำระที่ปลายทาง
ดูคำศัพท์โลจิสติกส์ เพิ่มเติม →
• B/L หรือ Bill of Lading •
Bill of Lading (B/L) คือ ใบตราส่งทางเรือ เป็นสัญญาการขนส่ง ซึ่งผู้รับขนส่งสินค้าออกให้กับผู้ส่งสินค้า โดยจะระบุนามผู้ส่ง-ผู้รับสินค้า, ต้นทาง-ปลายทาง, ข้อมูลของสินค้า, Shipping Mark, ฯลฯ
- Shipper name คือ ชื่อผู้ส่งสินค้า
- Consignee name คือ ชื่อผู้รับมอบสินค้า
- Amount of Container size & type เช่น 1 x 20’DC, 2 x 40’HQ เป็นต้น
- Port of Loading หรือ POL คือ ท่าเรือต้นทาง
- Port of Discharge หรือ POD คือ ท่าเรือปลายทาง
- Description รายละเอียดของสินค้า เช่น จำนวน น้ำหนัก ลักษณะแพคเกจ ฯลฯ
- On Board Date คือ วันเรือออก ซึ่งจะถูกระบุไว้บนใบตราส่ง (B/L) สำหรับการส่งแบบ FCL คือ ต้องรอให้เรือออกก่อนแล้วถึงจะสามารถระบุวันเรือออกได้
ทั้งนี้ B/L เป็นเอกสารสำคัญในการแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าที่ขนส่งซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนมือได้ (Negotiable) คล้ายกับตั๋วแลกเงินหรือเช็ค ซึ่งผู้รับมอบตามใบตราส่งสามารถนำไปใช้แสดงเพื่อขอรับสินค้า ณ ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้
• Packing List & Invoice •
เอกสารที่ใช้ประกอบการผ่านพิธีการทั้งขาเข้า-ขาออก ซึ่งเป็นความรับผิดชอบผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก ที่จะต้องสำแดง ลักษณะบรรจุภัณฑ์สินค้า ตลอดจนมูลค่าสินค้า ให้เป็นไปตามระเบียบของศุลกากร
Packing List คือ เอกสารที่ใช้แสดงรายการบรรจุภัณฑ์, Dimension, น้ำหนัก, จำนวนสินค้า Shipping Mark ฯลฯ
Invoice or Commercial Invoice คือ เอกสารสำหรับแสดง รายการสินค้า, ราคา, Incoterm, ชื่อผู้ซื้อ-ผู้ขาย, Seaport?ต้นทาง-ปลายทาง, ฯลฯ
?เทคนิคการทำเอกสาร Invoice และ Packing List สำหรับ Shipment ที่รายการสินค้าไม่มากนัก ทั้งแบบ LCL และ FCL คือ สามารถให้รวมแสดงไว้ในใบเดียวกันได้
• Local Charge •
THC หรือ Terminal Handling Charge คือ ค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะถูกเรียกเก็บโดยผู้ให้บริการ Terminal เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายใน Terminal เช่น การใช้พื้นที่เพื่อพักตู้ การใช้เครนไฟฟ้ายกตู้ขึ้นเรือ-ลงเรือ เป็นต้น
สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับค่า THC เมื่อส่งแบบ FCL คือ การเรียกเก็บ THC อาจมีอัตราต่างกันเล็กน้อย ในแต่ละสายเรือ หรือแต่ละเอเย่นต์
• CFS charge •
CFS Charge หรือ Container Freight Station Charge คือ ค่าธรรมเนียมการโหลดสินค้า เข้า-ออกจากตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงค่าย้ายตู้จากลานโหลดไปยัง Terminal
สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับ CFS charge เมื่อส่งแบบ FCL คือ CFS charge อาจจะเรียกเก็บในอัตราไม่เท่ากันในแต่ละเอเย่นต์หรือ แต่ละสายเรือ เช่นเดียวกับค่า THC
• D/O หรือ Delivery Order •
Deliver Order หรือ D/O คือ ใบปล่อยสินค้า ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องนำใบตราส่ง (B/L) ฉบับจริงไปแลกจากเอเย่นต์หรือสายเรือ เพื่อนำไปประกอบชุดเอกสารสำหรับเดินพิธีการขาเข้า
• Transhipment •
Transshipment หรือ Transhipment คือ การถ่ายลำเรือ ยกตัวอย่างเช่น ตู้สินค้าที่จะเข้าท่าเรือคลองเตยมักจะต้องทำการถ่ายลำที่ Hong Kong Port หรือ Singapore Port เป็นต้น
• Transit Time •
Transit Time คือ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการเดินเรือนับตั้งแต่เรือออกจากท่าเรือต้นทางจนกระทั่งเรือถึงที่ Port ปลายทาง
• Incoterms •
International Commercial Terms (Incoterms) คือ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีด้วยกัน 11 เทอม Incoterms 2020→
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ FCL & ปรึกษาปัญหาด้านการนำเข้า-ส่งออก
ได้ทุกวัน? จันทร์-ศุกร์ 08:30-17:00
Tel – 02 458 5282
Line – @SmartFreight
และสามารถกดติดตาม SmartFreight ผ่านทาง
Facebook – SmartFreightThailand