September 14, 2023 | SmartFrightThailand

LCL คือ การขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์

Less Than Container Load หรือ LCL คือ การขนส่งทางเรือหรือทางทะเล ในกรณีที่สินค้ามีปริมาณน้อย ซึ่งควรทำการขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ ดูบริการ LCL→

โดยภายในตู้คอนเทนเนอร์ จะรวมสินค้าจากผู้ส่งสินค้าหลาย ๆ รายไว้ในตู้เดียวกัน แตกต่างจากการขนส่งแบบ FCL ที่สินค้าทั้งตู้เป็นของลูกค้ารายเดียว FCL คือ →

LCL คือ

คำศัพท์เฉพาะที่น่ารู้เกี่ยวกับ LCL คือ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการขนส่งแบบ LCL ในระดับเบื้องต้น โดยนำเสนอในรูปแบบคำศัพท์-ภาพประกอบ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ เพื่อใช้สำหรับการประสานงานกับ บริษัท Freight Forwarder ทั้งเพื่อการนำเข้า-ส่งออก

• Cubic Meter •

LCL

Cubic Meter คือ
หน่วยวัดปริมาตร ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL คือ ลูกบาศก์เมตร หรือ Cubic Meter (เรียกสั้น ๆ ว่า “คิว”) เช่น “การส่งสินค้าแบบ LCL ควรมีขนาดอย่างน้อยประมาณ 1 คิว ขึ้นไป” (เขียน 1 CBM.)

โดยการบอกขนาดของสินค้า (Dimension) สำหรับการส่งสินค้าแบบ LCL คือ ต้องเป็นขนาดที่วัดหลังจากทำ Packing แล้วเสมอ

• Dimension •

LCL dimension

Exporter : ต้องการจองระวางเรือไป Port Jakarta, Indonesia ครับ Forwarder : ขอทราบ Dimension และ จำนวน Package ด้วยค่ะ
Exporter : Dimension เป็น (1.2M x 1M x 1.8M) x 1 Package ครับ
Forwarder : ได้ค่ะ จะส่ง Confirm Booking Jakarta ประมาณ 2 คิว ไปทาง e-mail นะคะ

• Packing •

LCL crate
LCL carton
LCL pallet
LCL carton
LCL pallet
LCL case
LCL pallet
LCL case
LCL crate
LCL case
LCL crate
LCL carton
Packing

Packing คือ การทำบรรจุภัณฑ์เพื่อการนำเข้า-ส่งออก วัตถุประสงค์ในการทำ Packing สำหรับสินค้าที่ส่งแบบ LCL คือ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง โดยการทำ Packing สามารถทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ ใส่กระสอบ ตีลัง แพคบนพาเลท ฯลฯ

ดูบริการ Packing →

**สิ่งที่สำคัญก็คือ หากใช้ไม้เป็นวัสดุในการทำ Packing ต้องทำ Fumigation ด้วยทุกครั้ง

• Fumigation •

LCL IPPC logo
LCL IPPC logo

Fumigation คือ การรมยาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เพื่อกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นหลักสากลในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องปฎิบัติตามมาตรฐาน IPPC และจะต้องมี Certificate กำกับ

**ถ้าสินค้าส่งออกไปถึงปลายทางแล้ว แต่ไม่มีตรา IPPC รับรอง สินค้านั้นมีโอกาสถูกส่งคืนกลับประเทศได้นะครับ

• Shipping Marks •

LCL Shipping Marks

อีกปัญหาที่พบได้บ่อยในการส่งสินค้าแบบ LCL นั่นก็คือ มักเกิดความสับสนระหว่างสินค้าที่ทำ Packing ในลักษณะคล้ายกัน หรือเหมือนกัน โดยแนวทางในการป้องกันที่ง่ายและได้ผลดี สำหรับการส่งสินค้าแบบ LCL คือ การทำ Shipping Marks หรือ เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ โดยต้องแสดงไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนบนทุก packages

• Invoice & Packing List •

Invoice or Commercial Invoice คือ เอกสารสำหรับแสดง รายการสินค้า, ราคา, Incoterms, ชื่อผู้ซื้อ-ผู้ขาย, Seaport ต้นทาง-ปลายทาง, ฯลฯ

Packing List คือ เอกสารที่ใช้แสดงรายการบรรจุภัณฑ์ Dimension น้ำหนัก จำนวนสินค้า Shipping Mark ฯลฯ

โดยการทำเอกสาร Invoice และ Packing List สำหรับการส่งแบบ LCL ผู้นำเข้า-ส่งออกสามารถที่จะรวมแสดงไว้ในใบเดียวกันหรือแยกกันก็ทำได้

• SeaPort •

Sea Port

SeaPort คือ เมืองท่า/ท่าเรือเดินทะเล ซึ่งมีอยู่หลายร้อย Seaports ในมากกว่า 120 ประเทศทั่วโลก (บางประเทศก็ไม่มีหรือไม่ติดทะเล) โดยการขนส่งสินค้าแบบ LCL ผู้นำเข้า-ส่งออกควร ทำการตรวจเช็คเมืองท่ากับผู้ให้บริการก่อนวางแผนการขนส่งเสมอ

• Sailing Schedule •

กำหนดการเดินเรือ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงเมืองท่าต้นทาง-ปลายทาง, วันเรือออก-เรือถึง, ระยะเวลาในการเดินทาง, รวมถึงเส้นทางการเดินเรือคร่าว ๆ ด้วย

• B/L หรือ Bill of Lading •

หมายถึง ใบตราส่งทางเรือ เป็นสัญญาการขนส่ง ซึ่งผู้รับขนส่งสินค้าออกให้กับผู้ส่งสินค้า โดยจะระบุนามผู้ส่ง-ผู้รับสินค้า, ต้นทาง-ปลายทาง, ข้อมูลของสินค้า, Shipping Mark, ฯลฯ

ทั้งนี้ B/L ยังเป็นเอกสารสำคัญในการแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขนส่งที่เปลี่ยนมือได้ (Negotiable) ของผู้ทรงสิทธิ์ ซึ่งผู้ทรงสิทธิ์จะใช้ในการขอรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้

• Booking Confirmation •

นิยมเรียกว่า “ใบบุ๊ค” เป็นเอกสารยืนยันการจองระวาง สำหรับการส่งแบบ LCL โดยในใบบุ๊คจะแสดงรายละเอียดที่สำคัญคือ

  • CBM. หรือจำนวนคิว
  • Port ต้นทาง – ปลายทาง
  • Stuffing Date คือ วันที่บรรจุสินค้า
  • Cut-Off Time คือ วัน-เวลาในการปิดตู้คอนเทนเนอร์
  • Yard คือ สถานที่-ลาน ที่ต้องนำสินค้าไปบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์
  • Estimate Time Departure หรือ ETD คือ วัน-เวลา ที่เรือจะออกจากท่าเรือต้นทาง?
  • Estimate Time Arrival หรือ ETA คือ วัน-เวลา ที่เรือจะถึงท่าเรือปลายทาง?

ดูคำศัพท์โลจิสติกส์ เพิ่มเติม →

• Transit Time •

Transit Time คือ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการเดินเรือนับตั้งแต่เรือออกจากท่าเรือต้นทางจนกระทั่งเรือถึงที่ Port ปลายทาง

ดูบริการ LCL→

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ LCL & ปรึกษาปัญหาด้านการนำเข้า-ส่งออก
ได้ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ 08:30-17:00
Tel – 02 458 5282
Line – @SmartFreight

และสามารถกดติดตาม SmartFreight ผ่านทาง
Facebook – SmartFreightThailand

Related Post